เบาหวาน โรคเรื้อรังที่ต้องควบคุม

โรคเบาหวาน เป็นกลุ่มโรคทางเมตะบอลิซึม ซึ่งก่อให้เกิดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงเป็นเวลานาน เป็นผลมาจากความผิดปกติในการหลั่งอินซูลินหรือความผิดปกติในการออกฤทธิ์ของอินซูลิน

 

สาเหตุ

  • ความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในตัวของตับอ่อน
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม ของการออกฤทธิ์ของอินซูลิน
  • โรคของตับอ่อน การทำลายตับอ่อน จากการอักเสบ การติดเชื้อ
  • โรคต่อมไร้ท่อ
  • ยาหรือสารเคมีบางอย่าง ที่มีผลทำให้การหลั่งอินซูลินลดลง
  • โรคติดเชื้อ

 

อาการ

  • ดื่มน้ำมาก
  • ปัสสาวะมาก
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสสาเหตุ

 

ในรายที่เป็นไม่มากที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 126-200 mg% อาจไม่มีอาการผิดปกติได้อย่างชัดเจน เพราะอาจตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ

หรือจากการตรวจเช็คสุขภาพ

 

ในรายที่เป็นไม่มากที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 126-200 mg%
อาจไม่มีอาการผิดปกติได้อย่างชัดเจน

เพราะอาจตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ
หรือจากการตรวจเช็คสุขภาพ

 

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

  • ภาวะไตวายเรื้อรัง
  • ตาบอด
  • ความผิดปกติของเส้นประสาท การตัดเท้า
  • ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
  • แผลที่เท้า

 

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเป็นโรคเบาหวาน

  • ความอ้วน (BMI > 27 kg/m)
  • มีบิดา มารดา พี่หรือน้อง เป็นโรคเบาหวาน
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง (BP > 140 / 90 มม.ปรอท)
  • มี HDL – cholesterol. 250 mg/dl

 

คำแนะนำ
หากตรวจพบน้ำตาลในเลือดสูงควรปรึกษาแพทย์ และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน อาหารประเภทไขมัน น้ำอัดลม
เครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์ และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ บางเรื่องในชีวิต ความวางใจสำคัญที่สุด

 

ขณะนี้พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาตัวแต่ไม่สามารถควบคุมอาการได้

มีประมาณร้อยละ 29 กลุ่มนี้ จึงเสี่ยงโรคแทรกซ้อนสูง โดยเฉพาะแผลที่เท้า

พบได้ร้อยละ 15 แผลที่พบส่วนใหญ่เป็นแผลเรื้อรัง

หากดูแลรักษาไม่ถูกต้องจะถูกตัดเท้า แต่กลุ่มที่น่าห่วง

คือกลุ่มผู้หญิงที่ชอบทำเล็บ แต่งเล็บเท้า เนื่องจากร้านเสริมสวยส่วนใหญ่

ยังตัดเล็บเท้าไม่ถูกวิธี โดยมักจะตัดเป็นแนวโค้ง เพื่อให้ดูเรียวซึ่งผิดวิธี

จะทำให้เกิดอักเสบหรือเกิดปัญหาเล็บขบ หากเป็นผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่าเป็นก็ตาม จะมีอันตราย ทำให้เกิดการติดเชื้อ

แผลอักเสบลุกลามง่ายขึ้น

 

การดูแลเท้า - การตัดเล็บเท้าที่ถูกต้องนั้นต้องตัดแนวตรง เสมอปลายนิ้ว

อย่าตัดลึกมาก เพราะจะเกิดแผลได้ง่าย และไม่ควรแคะซอกเล็บ

ที่ผ่านมาจะมีผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกตัดเท้าทุกปี ปีละประมาณ 14,000 คน

การรักษาแผลที่เท้าด้วยการตัดเท้า ไม่ใช่สิ่งที่ปลอดภัย

เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากการถูกตัดเท้าร้อยละ 3-7 ดังนั้น การป้องกัน

ไม่ให้เกิดแผลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ โทร. 0 3312 5997